ปั้มมือโยกเช็คหัวฉีด

รุ่น Big -1

ไม่มีมือหมุนปรับแรงดัน

แม่ปั้มขนาดใหญ่

โครงสร้างเป็นเหล็กทั้งหมด

มาพร้อมฐานเหล็ก

ทนทาน

น้ำหนักประมาณ 23 kg

 

ปั้มมือโยกเช็คหัวฉีด

ทำความดันได้สูงสุด 600 bar

สำหรับเช็คหัวฉีดดีเซล

บอช์ส Bosch

เดนโซ่ Denso

เดลไฟ Delphi

 

 

ปั้มโยกทดสอบหัวฉีดดีเซล
เพื่อตรวจสอบ  ดังนี้
1.ตรวจสอบการยกของหัวฉีด
2.ตรวจสอบรั่วซึมระหว่าง ตัวเข็ม (Injector needle) กับ ตัวเสื้อหัวฉีด (Injector Body )
3.ตรวจสอบรูปแบบการสเปรย์
4.ลักษณะการไหลภายใน และการสไลด์ของเข็มหัวฉีด ( ฟังจากเสียง ) กรณีเป็นหัวฉีดแบบเก่าไม่ใช่คอมมอนเรล


การใช้งาน
ประกอบท่อแป้บเข้ากับหัวฉีดและตัวปั้ม  แล้วค่อยๆโยกคันโยกดูเพื่อเช็คดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่  ถ้าไม่มีให้ค่อยๆโยกเพิ่มความดันไปเรื่อยๆ
1.กรณีเช็คดูการเปิดของหัวฉีดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่คอมมอนเรล
ต้องดูสเปคหัวฉีดรุ่นนั้นๆก่อนว่า  เปิดที่ความดันเท่าไหร่ 
โยกปั้มช้าๆ  จนกระทั่ง หัวฉีดเปิด แล้วดูว่าเปิดที่ความดันเท่าไหร่  ถ้าแตกต่างจากสเปคเดิมไปมากให้ปรับตั้งตัวชิม ( Shim ) หัวฉีดใหม่
2.กรณีเช็คการรั่วระหว่างเข็มหัวฉีดกับเสิ้อหัวฉีด
โยกปั้มไปที่ความดันที่หัวฉีดยก – 20 bar  สมมุติว่าหัวฉีดเปิดที่ 300 bar ( 0.3 MPa ) ก็โยกปั้มไปที่ 280 bar ( 0.28 MPa) ถ้าภายในเวลา 10 นาที เข็มไม่ตก หรือ ไม่มีการออกมาจากหัวฉีดก็แสดงว่า ปกติดี แต่ถ้ามีการรั่ว ก็ให้แก้ไขโดยการเปลี่ยนเข็ม หรือ ล้าง
3.การตรวจสอบการสไลด์ของเข็ม
ให้ทำการโยกคันโยกแบบช้าๆ บ้าง  เร็วๆบ้าง แล้วฟังเสียง การยกหรือสไลด์ตัว ซึ่งจะคล้ายๆ กับเสียงผิวปากเบาๆ
การโยกปกติจะอยู่ที่ 1 ครั้ง ต่อวินาที
โยกแบบช้าๆ หัวฉีดจะสเปรย์แบบ ยาวๆ
โยกแบบเร็ว  หัวฉีดก็จะฉีดแบบสั้นๆ แต่เร็วขึ้นตามจังหวะ

หมายเหตุ
การโยกเร็วเกินไป  อาจทำให้เกจวัดความดันเสียหายได้ 
สเปรย์มีแรงดันสูง  อย่าให้ถูกผิวหนังโดยตรง เพราะจะทำให้ซึมเข้ากระแสเลือดได้

รูปแบบการฉีดที่ดี
ต้องออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม ( Cone Shape ) คล้ายๆโคนไอศกรีม หรือ รูปกรวย และ สเปรย์ต้องออกมาแบบละเอียดเป็นฝอยทุกทิศทาง
รูปแบบการฉีดที่ไม่ดี

    • ออกมาเป็นเส้นตรง ( Line )
    • ออกมาเป็นช่วงเป็นริ้ว ( Streak ) คล้ายๆ สายฟ้าฝ่า
    • ออกมาเป็นกลุ่มๆ กระจุกเป็นที่ๆไป